วอนอนุรักษ์แหล่งพักพันธ์กุ้งแชบ๊วยหางแดง

ชาวประมงเรือเล็กชายฝั่ง วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาทางอนุรักษ์ แหล่งกุ้งแชบ๊วยหางแดงซึ่งจะมีในช่วงเดือน มิ.ย.ถึง ก.ค เท่านั้น ขณะที่ นายอำเภอเข้าตรวจสอบแล้วเตรียมผลักดันเป็นพื้นที่อนุรักษ์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในพื้นที่ตำบลชากพง อำเภอแกลงจังหวัดระยอง มีแหล่งอาศัยของกุ้งแชบ๊วยหางแดง ซึ่ง 1ปีมีแค่ 3 เดือนเท่านั้นและ เป็นกุ้งแชบ๊วยทะเลจากธรรมชาติ มีที่เดียวในจังหวัดระยอง เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กลุ่มประมงเรือเล็กชายฝั่ง แถบนี้มายาวนาน กลุ่ม ชาวประมงจึงออกมาวอนรัฐช่วยอนุรักษ์แนวกำเนิดธรรมชาติ นี้และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดระยอง
****นายชาญชัย ศรีประสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง พร้อม นายสมจิตร ขวัญจิตร ประธานกกลุ่มประมงพื้นบ้านวังแก้ว อ่าวละมุ กล่าวว่า กุ้งแชบ๊วย เป็นกุ้งทะเลธรรมชาติ ที่มีราคาค่อนข้างแพงหาอยาก ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเลลึก หากินยากมาก แต่ที่แห่งนี้ คือบริเวณทะเลอ่าวเจริญ อ่าวละมุ ในเขต ม.2 ต.ชากพง อ.แกลง จ.ระยอง พื้นที่เลียบชายฝั่งยาว แค่ 3-5 กม.จะมีกุ้งแชบ๊วยตามธรรมชาติ ที่ชอบมาหากินและชาวบ้านจะใช้อวนดักกุ้งวางตามแนวชายฝั่ง ระยะจากฝั่งออกไปในทะเลไม่เกิน 1 กม.เท่านั้นโดยที่กุ้งแชบ๊วยจะมาบริเวณแห่งนี้ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือน กรกฎาคม เท่านั้นจากนั้นจะไม่มีอีกเลยจึงเป็นที่หน้าแปลกเพราะ1 ปีมีแค่ 3 เดือนเท่านั้น เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ ชาวบ้านและกลุ่มประมงเรือเล็กแนวชายฝั่ง. ซี่งแต่ละวันการหากุ้งแชบ๊วยจะสร้างรายได้ขั้นต่ำถึง 12,500 บาทต่อวัน โดยมีราคาขายส่งอยู่ที่ 250 บาทต่อกิโลกรัม
 ******ด้านนายวิทยา ชพานนท์ นายอำเภอแกลง กล่าวว่า หลังลงพื้นที่ดูการจับกุ้งของชาวประมง พบว่ากุ้งทะเลชนิดนี้เป็นกุ้งแชบ๊วยหางแดง หารับประทานได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่จะหากินในทะเลน้ำลึก เมื่อถึงฤดูวางไข่จะเข้ามาวางไข่ในเขตน้ำกร่อยตามแนวชายฝั่งที่มีน้ำไม่ลึก มีโขดหิน เป็นป่าปะการัง เมื่อเติบโตก็จะว่ายลงทะเลลึก จากการตรวจสอบในพื้นที่ การสอบถามชาวประมงที่ทำมาหากินมาแต่ปู่ ย่า ตา ยาย บอกว่ากุ้งแชบ๊วยหางแดงพบได้ตั้งแต่ อ่าวเจริญต.ชากพง ไปถึงเขต ตำบลแกลง หาดสวนสน ต.เพ นอกนั้นไม่พบ จึงเป็นการสร้างรายได้แก่กลุ่มประมงเรือเล็ก โดยแต่ละวันชาวประมงจะนำอวนดักกุ้งไปวางในทะเลใช้เวลาแค่ 2 ชม.ก็ทำการกู้อวนขึ้นมา ช่วยกันปลดกุ้งออก จากนั้นนำอวนกลับไปวางใหม่ กุ้งที่นำขึ้นมาต่อวันมีไม่ต่ำกว่า 2-3 ตัน มีกลุ่มเรือประมงเรือเล็ก ประมาณ 30-50 ลำ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ทำรายได้แก่ครอบครัวของชาวประมง ซึ่งเมื่อได้สำรวจเป็นที่เรียบร้อยแล้วเตรียมจะเสนอพื้นที่นี้ให้ทเป็นแหล่งกำเนิด แหล่งเพาะพันธุ์ กุ้ง ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งซื้ออาหารทะเลสด และจะจัดให้มีเทศกาลกินกุ้งทะเล ต่อเนื่องจากเทศกาลผลไม้ ช่วงเดือน พ.ค. ของทุกๆปี.
อัจฉรา วิเศษศรี จ.ระยอง

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *