PRICE 5 วิธีจดจำง่าย บรรเทาอาการปวดเข่า

health-1_1

อาการปวดเข่าอย่างเฉียบพลัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ลงได้ด้วย 5 วิธีจดจำง่าย อย่าง PRICE

     เข่า เป็น 1 ในจุดสำคัญของขาซึ่งมีหน้าที่คอยรับน้ำหนักตัวในขณะที่เดิน วิ่ง หรือกระโดด แน่นอนว่าถ้าหากเกิดอาการปวดขึ้นมาย่อมส่งผลกระทบต่อการเดินอย่างแน่นอนเลยค่ะ โดยปกติแล้ว อาการปวดเข่านั้นมักจะเกิดขึ้นฉับพลัน แต่กว่าจะไปถึงมือแพทย์ก็คงต้องทนเจ็บปวดกันอยู่นาน ดังนั้นเราจึงต้องทำการปฐมพยาบาลกันเบื้องต้นก่อน ซึ่งวิธีหนึ่งที่กระปุกดอทคอมขอนำเสนอก็คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการปวดเข่า แบบง่าย 5 วิธี ที่มีชื่อเรียกสุดเก๋ว่า PRICE แต่จะเป็นการปฐมพยาบาลอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

     PRICE หรือที่อ่านว่า ไพร้ส์ เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการปวดเข่าอย่างเฉียบพลัน อันอาจจะมีสาเหตุมาจากการถูกกระทบกระแทกหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดจังหวะไม่เหมาะสม โดยชื่อนี้ก็มาจากการรวมกันของตัวอักษรที่บ่งบอกถึงการดูแลในแต่ละขั้นค่ะ

     P = Protection แปลว่า การปกป้อง หลักในข้อนี้คือการเตือนใจให้ผู้บาดเจ็บตระหนักถึงการปกป้องบริเวณที่ปวด โดยการพันผ้า หรือหาเครื่องป้องกัน เพื่อไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนจนบาดเจ็บหนักขึ้นกว่าเดิม

     R = Rest แปลว่า การหยุดพัก โดยในขั้นตอนนี้ผู้บาดเจ็บควรจะหยุดพักการใช้อวัยวะส่วนที่ปวด เพื่อไม่ให้อาการหนักขึ้นกว่าเดิม โดยควรนั่งพักและให้อวัยวะส่วนนั้นเคลื่อนไหวน้อยที่สุดอย่างน้อย 48 ชั่วโมงค่ะ

     I = Ice แปลว่า น้ำแข็ง ในการบรรเทาอาการปวดควรใช้ของที่มีลักษณะเย็น อย่างเช่น น้ำแข็ง ถุงเย็น หรือผ้าชุบน้ำเย็น มาประคบเพื่อบรรเทาอาการ โดยการประคบเย็นในแต่ละครั้งควรไม่เกิน 10-20 นาที วันละ 2 -3 ครั้ง หรือจนกว่าจะหายบวม นอกจากนี้ยังสามารถใช้สเปรย์เย็นได้อีกด้วย แต่วิธีนี้จะบรรเทาอาการปวดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และเหมาะกับบริเวณที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไม่หนา เช่น คาง สันหมัด และข้อเท้า

     C = Compression แปลว่า การบีบอัด ขั้นตอนนี้ไม่ได้หมายความว่าให้บีบบริเวณที่เจ็บนะคะ แต่ให้นำผ้ามาพันให้แน่นขึ้นอีกสักหน่อย เพื่อป้องกันกันไม่ให้เลือดออกในเนื้อเยื่อมากเกินไป และควรใช้สำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนา ๆ ก่อนพันผ้าด้วยค่ะ ที่สำคัญควรจะพันให้ครอบคลุมบริเวณที่ปวดทั้งหมดด้วย

     E = Elevation คือ การยกบริเวณที่ปวดให้สูงกว่าหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้สะดวก และช่วยลดการกดของน้ำนอกเซลล์ที่หลังออกมาสู่เนื้อเยื่อ ซึ่งทำให้บวมน้อยลง โดยการนอนวางขาหรือเท้าบนหมอน หรือถ้าหากนั่งอยู่ให้วางเท้าบนเก้าอี้ ซึ่งถ้าหากมีอาการปวดรุนแรงก็ควรยกขาสูงไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง

health_1

 ข้อควรระวัง

     หากเกิดอาการปวดแบบเฉียบพลันควรลดการใช้ความร้อนในทุกรูปแบบ 48 ชั่วโมง หลังจากการบาดเจ็บเพราะความร้อนจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวและทำให้บริเวณนั้นมีเลือดออกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำมาสู่การบวมของเนื้อเยื่อโดยรอบ และทำให้หายช้าลง

     การปฐมพยาบาลเบื้องต้น แม้จะช่วยบรรเทาอาการได้แต่ก็ไม่ได้ทำให้หายสนิท ดังนั้นถ้าหากเกิดอาการปวดขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุและเกิดเป็นเวลานานจนเรื้อรังก็ควรที่จะไปพบแพทย์นะคะ เพราะบางทีก็อาจจะเกิดจากบางสาเหตุที่เราคาดไม่ถึงก็ได้ค่ะ 

Credit : http://health.kapook.com/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *