หลวงปู่ทิม รูปหล่อโสฬส ฐานปูปลา

“หลวงปู่ทิม รูปหล่อโสฬส ฐานปูปลา”

  รูปหล่อหลวงปู่ทิมโสฬส ฐานปูปลา เนื้อนวะโลหะก้นอุดผงพรายกุมาร พิธีโสฬส ปี2533 ด้านหลังตอกโค๊ตเลข ๑๖ รูหล่อหลวงปู่ทิมฐานปูปลา พิธีชินบัญชรมหาโสฬส ปี33 เนื้อนวโลหะสร้างเมื่อปี 2533 ณ วัดละหารไร่ “โลหะชนวนมวลสารคดี พิธีใหญ่” มูลนิธิหลวงปู่ทิมและคณะศิษย์ใกล้ชิดเป็นผู้จัดสร้างเนื่องในโอกาสครบ ๑๖ ปี พระกริ่งชินบัญชร อันเลื่องลือ ซึ่งหลวงปู่ทิมอิสริโก แห่งวัดละหารไร่ จ.ระยอง เป็นผู้ปลุกเสก เมื่อ พ.ศ. 2517

 

ชนวนมวลสารต่างๆที่นำมาจัดสร้าง

  1. โลหะชนวนพระกริ่งชินบัญชร พ.ศ. ๒๕๑๗
  2. ตะกรุดทองแดงและเหรียญชำรุดหลวงปู่ทิมอิสริโก
  3. แผ่นทองแดงจารพระยันต์ ๑o๘ และ นะ ๑๔ หลวงพ่อบุญมี วัดเกาะ จ.สุโขทัย เป็น ผู้จารอักขระลงและปลุกเสกพระยันต์
  4. พระพุทธรูปชำรุด จากพิธีหล่อ พระกริมปรโม วัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
  5. โลหะชนวนพระกริ่งวัดตากล้อง จ. นครปฐม สร้างโดยพระองค์เจ้าเฉลิม พล ทิฆัมพร
  6. โลหะชนวนพระช่อพระชัยหลวงปู่บุญ วักกลางบางแก้ว จ. นครปฐม
  7. ตะกรุดแม่ทัพ วัดหมูดุด อ.ท่าใหม่ จ. จันทบุรี
  8. โลหะชนวนรูปหล่อหลวงปู่คำพันธุ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปลวก จ. นครพนม
  9. นวโลหะคือ โลหะ 9 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน ทองคำ จ้าวน้ำเงิน  สังกะสี ชิน บริสุทธิ์

  พิธีเททอง กระทำในเช้าวันศุกร์ 4 พฤษภาคม 2533 โดยจัดพิธีบวงสรวง คุณชินพร สุขสถิตย์ จุดธูปเทียนบูชาบรวงสรวงครูอาจาร์ย จากนั้นหมอ กุหลาบ จ้อยเจริญ ทำหน้าที่เป็นบัณฑิตอัญเชิญเทวดา บวงสรวงครูอาจาร์ยเทพ พรหม เจ้าที่ และเจิมบ้า หมอกุหลาบผู้นี้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ของหลวงปู่ทิม ซึ่งท่านเคยใช้ให้หมอกุหลาบ บวงสรวงในพิธีต่างๆ เป็นประจำ พิธีสงฆ์พระโสภณธรรมคดี เจ้าคณะจังหวัคจุดเทียนชัย และเวลา 9.09 น. ซึ่งเป็นทวีฤกษ์พระโสภณธรรมคดี เป็นประธานเททองพระกริ่งบูชาชินบัญชรมหาโสฬสหน้าตัก 32 นิ้ว และรูปหล่อบูชา หลวงปู่ทิม หน้าตัก 16 นิ้ว เวลา 9.49 น. ซึ่งถือเป็นเพชรฤกษ์ หรือ เพชฌฆาตฤกษ์ เป็นฤกษ์ทีดีทางมหาอำนาจ และจู่โจมพระครูศรีฉฬังคสังวร (หลวงปู่เริ่ม ปรโม) เป็นประธานเททอง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์และรูปหล่อ พระนั่งปรก 4 ทิศ 4 องค์ และนั่งปรกในปะรำพิธีอีก 2 องค์ดังนี้

  1. พระครูโสภณสังฆการ (หลวงพ่อสวัสดิ์) วัดกระแสบน ทิศอุดร (เหนือ)

  2. พระครูสิทธิกิจจาทร (หลวงพ่อชม) วัดโป่ง ทิศทักษิณ (ใต้)

  3. พระครูปลัดธรรมจริยวัตร์ (หลวงปู่วิเวียน) วัดดวงแข ทิศบูรพา (ตะวันออก)

  4. พระครูสุตพลวิจิตร(หลวงพ่อครำ) วัดวังหว้า ทิศประจิม(ตะวันตก)

  5 . พระโสภณธรรมคณี(พระมหาอภัย) วัดป่าประดู่ ในปะรำพิธี

  6. พระครูศรีฉฬังคสังวร(หลวงปู่เริ่ม) วัดจุกะเฌอ ในปะรำพิธี และในเวลาเดียวกันนั้นพระสงฆ์จำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ชัยมงคลคาถาและพระคาถาชินบัญชร

  รูปหล่อหลวงปู่ทิมโสฬสนี้ ถึงแม้ว่าจะสร้างหลังจากหลวงปู่ได้มรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่ก็ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นรูปหล่อที่มีความสวยงามพิธีสร้างศักดิ์สิทธิ์ สร้างน้อยและหายากแล้วในปัจจุบัน

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *