อำเภอเมืองระยอง

ท่องเที่ยวระยอง

สีสันแห่งท้องทะเลตะวันออก
จังหวัดระยองมีสถานที่เที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงมากมายและหลากหลายรูป ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเช่น ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เกาะเสม็ด พระเจดีย์กลางน้ำ หาดแหลมเจริญ หาดแม่รำพึง บ้านเพ แหลมแม่พิมพ์ หมู่เกาะมัน (เกาะมันใน เกาะมันกลาง เกาะมันนอก) เป็นต้น

นอกจากนี้ระยองยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทอุทยานแห่งชาติ 2 แห่งด้วยกัน คือ อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง แหล่งท่งเที่ยวภายในอุทยานมีทั้งหาดทราย เกาะแก่ง เขา ถ้ำ น้ำตก เส้นทางศึกษาธรรมชาติและชมพันธ์ไม้ที่อดุมสมบูรณ์สวยงาม

 

ท่องเทียวในอำเภอเมือง
ศาลหลักเมือง
ตั่งอยู่ทีถนนหลักเมือง เดิมเป็นศาลไม้ ต่อมาได้รับการปฎิสังขรณ์เป็นอาคารก่ออิฐ ลักษระอาคารเป็นแบบศาลเจ้าจีน ตัวหลักเมืองตั้งอยู่หน้าศาล ต่อมาได้มีการสร้างศาลหลักเมืองใหม่ และสร้างมลฑปจตุรมุขครอบเมื่อปี 2535 มีงานสมโภชในช่วงเทศกาลสงกราณ์

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินหมาราช
ตั้งอยู่ในวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ถนนตากสินฯ มีต้นสะตือขนาดใหญ่อยู่หน้าศาล อายุกว่า 300 ปี เล่ากันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนำช้างมาผูกไว้ที่ใต้ต้นสะตือนี้ เมื่อครั้งเสด็จผ่านเมืองระยองไปเพื่อรวบรวมไพร่พล และตั้งทัพเพื่อเตรียมกู้อิสรภาพที่จันทบุรี ภายในศาลมีพระบรมรูปปั้นของพระเจ้าตากสินในท่าประทับยืนประดิษฐานอยู่ การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางจากถนนสุขุมวิท สาย 3 เริ่มจากตัวเมืองไปจนหอนาฬิกาประมาณ 200 เมตร จะถึงสามแยกตากสินให้เลี้ยวขวาที่สามแยกตากสิน เข้าสู่ถนนตากสิน

 วัดป่าประดู่ pastedGraphic.pdf
อยู่ในเมืองระยองบนถนนสุขุมวิท แยกเข้าซอยวัดป่าประดู่ เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ภายในวิหารมีพระนอนขนาดใหญ่ ยาว 11.95 เมตร  สูง 3.60 เมตร  เป็นพระพุทธไสยาสน์ซึ่งประทับอยู่ในท่านอนตะแคงซ้าย  เดิมอยู่กลางแจ้ง   ต่อมาสร้างวิหารครอบเมื่อปี 2524  เปิดให้เข้านมัสการทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.

การเดินทาง  สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง

เส้นทางแรก  จากถนนสุขุมวิท สาย 3 ผ่านตัวเมือง จังหวัดระยอง จุดสังเกตคือ ผ่านโรงพยาบาลระยอง โรงเรียนวัดป่าประดู่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยถนนป่าประดู่จะถึงวัดป่าประดู่

เส้นทางที่ 2  จากถนนสาย 36 (บายพาส) ถึงสี่แยกเกาะลอย ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม ผ่านตัวเมืองจังหวัดระยอง พอถึงสามแยกโรงพยาบาลให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขุมวิท สาย 3 ผ่านโรงพยาบาลระยอง โรงเรียนวัดป่าประดู่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยถนนป่าประดู่จะเห็นวัดป่าประดู่

กิจกรรมน่าสนใจ
ไหว้พระ ชมโบสถ์เก่า
เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองระยอง แสดงให้เห็นว่าระยองเป็นหัวเมืองเก่าที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว มีพระพุทธรูปเก่าแก่เป็นประติมากรรมที่งดงามและศักดิ์สิทธิ์ที่คนระยองให้ความเคารพนับถือ
ประวัติ
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีอายุราว 400 ปีเป็นอย่างน้อย เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2372 พระอุปัชฌาย์เทียนได้บูรณะขึ้นใหม่ แต่ก่อนนั้นมีชื่อว่า “วัดป่าเลไลยก์”  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ”วัดป่าประดู่” เพราะมีต้นประดู่ ใหญ่อยู่ภายในวัดจำนวนมาก แต่ปัจจุบันเหลือเพียงต้นเดียวตรงปากประตูทางเข้าวัด
สิ่งน่าสนใจ
พระพุทธไสยาสน์
เป็นพระนอนตะแคงซ้ายอยู่คู่กับวัดมาแต่โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด องค์พระมีความยาวจากพระเศียรจดพระบาท 11.95 ม. สูง 3.60 ม. ทำด้วยอิฐถือปูน ในปี พ.ศ. 2478 พระครูสมุทสมานคุณ (แอ่ว) อดีตเจ้าอาวาส ได้บูรณะส่วนที่ชำรุดแล้วปิดทองเสียใหม่ ต่อมาวิหารเก่าชำรุด ทางวัดจึงได้สร้างวิหารใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2523
โบสถ์หลังเก่า
พระครูสมุทสมานคุณ (แอ่ว) และชาวบ้าน ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2449 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ด้านหน้าโบสถ์ต่อเป็นหลังคามีเสารองรับ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปกรรมที่นิยมในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลังคาซ้อนสองชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา ที่น่าสนใจคือโบสถ์แห่งนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน เช่น ที่หน้าบันด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก ปั้นปูนเป็นรูปพระพุทธเจ้าผุดขึ้นเหนือดอกบัวกลางสระ มีนกกระสากำลังจิกกบเขียดอยู่ในสระ ส่วน ด้านหลังโบสถ์ปั้นปูนเป็นลายพรรณพฤกษา ยกช่อดอกไม้เป็นกลีบ ลอยเด่นออกมาจากผนัง มีสิงโตกำลังเล่นลูกแก้วขนาบข้างละตัว
วิหารพระปาลิไลยก์
พระปางปาลิไลยก์เป็นของเก่าที่อยู่คู่วัดมาแต่เดิมเช่นเดียวกับพระพุทธไสยาสน์ และเคยเป็นพระประธานของวัดมาก่อน สูงถึง 6.02 ม. ประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2501 เนื่องจากวิหารเดิมทรุดโทรมมาก

 

 
วัดโขดทิมธาราม
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าประดู่ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2007 ผู้สร้างชื่อทิม เป็นเจ้าเมืองระยองในสมัยนั้น สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนัง และหลวงพ่อขาวที่เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวระยอง และมีการจัดงานบูชานมัสการประจำปี ในวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี
วัดโขด (วัดทิมธาราม)มีชื่อเรียกด้วยกันหลายชื่อ อาทิเช่น วัดโขด (ทิมราชธาราม) หรือ วัดโขด (ทิม ทราราม) กล่าวกันว่าที่ได้ชื่อเช่นนี้ เพราะพระยาระยอง ผู้เป็นเจ้าเมืองนั้นมีนามเดิมหรือนามจริงว่า “ทิม” เป็นผู้สร้างวัดนี้ แต่ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกกันสั้นๆว่า “วัดโขด” อันเนื่องมาจากวัดนี้มีที่มาจากที่ตั้งที่อยู่บนโขดทรายติดกับแม่น้ำระยอง ตอนท้ายเมืองหรือแถบชานเมืองในสมัยก่อน อยู่คู่กับเมืองระยองมากกว่า 500 ปีมาแล้ว จากปากคำที่บอกเล่าสืบกันมา แจ้งว่าวัดโขดนี้สร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2007 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 2031) แต่มีพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งบอกว่า ทางกรมศิลปากรแจ้งว่าวัดโขดสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2113 รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระบรมราชชนกในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกปีหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าอาศัยสิ่งใดเป็นหลักฐานอ้างอิง อย่างไรก็ตาม วัดนี้ก็มีอายุไม่น้อยกว่า ศตวรรษแล้ว โดยทางวัดขาดการดูแลรักษา ถูกทิ้งรกร้างปล่อยให้ปรักหักพัง จนถาวรวัตถุเก่าแก่คู่กับวัดมาแต่เดิมแทบไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่เลย ประกอบกับอุโบสถเก่าทั้งเล็ก คับแคบ และทรุดโทรม จนไม่สามารถทำสังฆกรรมได้ ต้องสร้างใหม่ขึ้นเมื่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2518 (แล้วเสร็จบริบูรณ์ในปี 2528) ศาลาการเปรียญที่ใหญ่โต โอ่อ่า และบรรดากุฏิเสนาสนะทั้งหลายเป็นของสร้างใหม่ทั้งหมด จนเป็นเสมือนวัดใหม่สร้างขึ้นบนพื้นที่ของวัดเก่าจิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถหลังเก่าวัดโขด

ภายในวัดโขด (ทิมธาราม) นี้ มีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเขียนสีโบราณล้ำค่าอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า ที่อยู่ทางทิศตะวันออกมุมใต้สุดของวัด ไกลออกไปจากศาลาและโบสถ์หลังใหม่ ปัจจุบันมิได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมใดๆ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดโขดหลังเก่านี้น่าจะเป็นฝีมือของจิตรกรท้องถิ่น เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายหรือสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นภาพทศชาติชาดกที่ผนังด้านนอกหน้าอุโบสถด้านทิศตะวันออก ตรงหน้าพระประธาน มีภาพปางมารวิชัยเขียนไว้ด้วย แต่เลือนรางมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดโขด (ทิมธาราม) นี้ พระนคร สนฺตินคโร อายุ 78 ปี ผู้ดูแลอุโบสถหลังเก่าแจ้งว่ากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่จะต้องอนุรักษ์ไว้แล้ว

สมุดภาพจิตรกรรม
สมุดภาพจิตรกรรมเก่าแก่ เป็นสมบัติทางศิลปกรรมล้ำค่าอีกสิ่งหนึ่งของวัดโขด มีลักษณะเป็นสมุดข่อยหรือสมุดไทยแบบโบราณ ภายในมีภาพลายเส้นของตัวพระ นาง ลิง ยักษ์ มีอยู่ทั้งหมดด้วยกันรวม 7 เล่ม เป็นภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยา 2 เล่ม และสมัยรัตนโกสินทร์อีก 5 เล่ม เข้าใจว่าน่าจะเป็นสมุดภาพตำราเกี่ยวกับนาฏศิลป์ โขน ละคร และการฟ้อนรำ

หลวงพ่อขาว
เป็นพระพุทธรูปปั้น ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพ็ชร (พระบาททั้งสองไขว้กัน) พระเกตุตูมรูปดอกบัว หน้าตักกว้าง 2.40 เมตร (95 นิ้ว) สูงจากฐานสุดยอดพระเกตุ 3.15 เมตร (123 นิ้ว)มีพระพุทธรูปสาวกนั่งคุกเข่าพนมมืออยู่สองข้างองค์หลวงพ่อ ประดิษฐานอยู่ในวิหารไม้ด้านทิศเหนือของโบสถ์เก่า ไม่มีผู้ใดทราบว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.ใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่สภาพชำรุดทรุดโทรมมาก องค์พระเป็นสีขาวเพราะก่อสร้างและทำด้วยปูนขาว ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” ต่อมาในปี 2511 มีผู้ศรัทธาร่วมกันบริจาคทำการบูรณะ ทั้งวิหารและอัครสาวกจึงดูเหมือนของใหม่ จากข้อสันนิษฐานพบว่า พระพุทธรูปองค์นี้อาจเป็นพระประธานประจำอุโบสถเดิมของวัด ทราบว่าเมื่อทำการบูรณะได้มีการขุดดินลงไปได้พบหินศิลาก้อนใหญ่ 2 ก้อน ไม่ทราบว่าจะเป็นลูกนิมิตหรือไม่ ถ้าเป็นหลวงพ่อขาวก็อาจจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 500 ปี (เพราะวัดโขด นี้มีประวัติสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2007 ถ้านับจนถึงปัจจุบัน ก็จะมีอายุรวม ประมาณ 540 ปี) โดยหลวงพ่อขาวอาจเป็นพระประธานประจำวิหารเหนือของพระอุโบสถ วัดโขดมีการจัดงานนมัสการประจำปีขึ้นในวันที่ 13, 14, 15 เมษายนทุกปี เพื่อให้ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้สักการบูชา

 

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดบ้านดอน
ตั้งอยู่ที่วัดบ้านดอน เป็นที่เก็บรักษาตัวหนังใหญ่ จำนวน 100 ตัว มีอายุกว่า 200 ปี ที่นำมาจากจังหวัดพัทลุง เมื่อปีพ.ศ. 2431 เพื่อใช้การแสดงฉลองเมืองระยอง โดยมีนายอำนาจ มณีแสง กวีเมืองระยอง เป็นผู้สืบทอดการแสดง และได้ถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนที่มีความสนใจได้ฝึกฝนการเล่นหนังใหญ่อีกด้วย
พระเจดีย์กลางน้ำ
ห่างจากตัวเมืองไปทางใต้ ใกล้ปากแม่น้ำระยอง องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่บนกลางเกาะแม่น้ำระยอง ไม่ปรากฎว่าใครเป็นผู้สร้าง เจดีย์กลางนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของชาวเรือ ว่ามาถึงเมืองระยองแล้ว พอถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปีจะมีงานห่มผ้าพระเจดีย์ การแข่งเรือและงานลอยกระทง
สวนศรีเมือง
ชาวเมืองนินมเรียกว่าเกาะกลาง ตั้งอยู่กลางเมืองหลังเทศบาลนครระยอง เนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ เคยเป็นแดนสำหรับประหารนักโทษ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสวนสาธารณะ และสวนสุขภาพของประชาชน ด้านหน้าเป็นที่ตั้งของหอพุทธอังคีรส ซึ่งเป็นอาคารเรือนไทย หลังคาจตุรมุข อันเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธอังคีรสถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของระยอง

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 2 ต.เพ ริมอ่าวบ้านเพ ตำบลเพ เป็นสถานที่ศึกษา ทดลองและวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ทะเลและพรรณไม้น้ำ อีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำที่สวยงามและหายาก รวมทั้งความรู้ทางด้านทรัพยากรสัตว์ทะเลและการประมง วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อให้เป็นแหล่งในการรวบรวมพันธุ์ปลาสวยงาม พรรณไม้น้ำ เป็นสถานศึกษา ค้นคว้า ทดลองและวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยาและพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์ทะเล รวมทั้งการจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพสัตว์น้ำของไทย ภายในบริเวณได้จัดให้มีบ่อปลาสวยงามขนาดใหญ่ มีทางเดินชมด้านข้างของบ่อและทางเดินลอดใต้บ่อคล้ายเดินลอดใต้ท้องทะเล การจัดแสดงตู้ปลาสวยงามมีทั้งปลาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นสัตว์น้ำที่มีพิษและไม่มีพิษ รวมทั้งสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่อาศัยตามป่าชายเลนไปจนถึงในทะเลลึก เช่น หมึกกระดอง ปูม้า หอยมือเสือ แมงดาถ้วย เป็นต้น  ในส่วนของบ่อสัตว์น้ำกลางแจ้ง  จะเห็นบ่อเต่าขนาดใหญ่เลี้ยงพันธุ์เต่าขนาดใหญ่ เช่น  เต่ากระ  เต่าตนุ  เต่ามะเฟือง   บ่อปลาที่เป็นสถานพยาบาลสัตว์น้ำทะเลขนาดใหญ่    และบ่อที่นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นธรรมชาติของใต้ทะเลลึกเสมือนได้สัมผัสโลกใต้ทะเล   เช่น   ปลาดาว  ดอกไม้ทะเล   หรือ ปลิงทะเล เป็นต้น  นอกจากนั้นภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเครื่องมือประมงชนิดต่างๆ ในรูปแบบจำลอง และ มีพิพิธภัณฑ์ฟอสซิล จัดแสดงซากสัตว์น้ำที่ตายหรือสูญพันธุ์ไปแล้ว รวมถึงประวัติของสัตว์น้ำชนิดหายาก เช่น โลมาปากขวด โลมาหัวบาด บริเวณด้านนอกอาคารจัดให้เป็นพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้าน   โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำมีชีวิต โดยรวบรวมและจัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงาม ปลาเศรษฐกิจ สัตว์น้ำที่หายาก และพรรณไม้น้ำของไทย อุโมงค์ทางเดินใต้ทะเลจำลอง สัมผัสกับสัตว์ทะเล ส่วนที่สอง จัดแสดงนิทรรศการ โดยแสดงโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล ชีวประวัติสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม วิวัฒนาการของเรือประมงและเครื่องมือประมง จำลองนิเวศน์ป่าชายเลน และส่วนที่สาม จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย โดยนำตัวอย่างของสัตว์ทะเลที่น่าสนใจ เช่น ปะการัง หอยทะเล เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวันพุธ-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 -16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-17.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อก่อนล่วงหน้า โดยทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตก อัตราค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๘๖๕ ๓๖๗๒, ๐ ๓๘๖๕ ๓๗๔๑ โทรสาร ๐ ๓๘๖๕ ๑๗๖๓ www.fisheries.go.th,

สวนพฤกษชาติโสภา

สวนพฤกษชาติโสภา ตั้งอยู่ใกล้ปากทางเข้าบ้านเพ ห่างจากตัวเมืองระยองประมาณ 17 กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ 238 แยกขวา เข้าไปประมาณ 200 เมตร สวนอยู่ทางด้านขวามือ
การเดินทาง : อยู่ไม่ไกลจากปากทางเข้าบ้านเพมากนัก จากถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาตรง กม. 238 เข้าไปประมาณ 200 เมตร สวนจะอยู่ขวามือ
เข้าไปประมาณ 200 เมตร สวนอยู่ทางด้านขวามือ
ภายในเนื้อที่ 32 ไร่ ปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด ประกอบด้วย ไม้เบญจพรรณ ไม้ในวรรณคดี ไม้เลื้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเรือนไทยโบราณ อายุร่วม 100 ปี จำนวน 3 หลัง จัดแสดงเครื่องลายครามของไทยสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผาสมัยบ้านเชียงมีเป็นจำนวนมาก อัตราค่าเข้าชมสำหรับ คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท  ชาวต่างประเทศ 50 บาท เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิเสวตรโสภา โทร. 03865 1688

เจ้าของได้อุทิศให้มูลนิธิเสวตรโสภา เพื่อให้เป็นมรดกไทย สำหรับประชาชน ได้ศึกษา หาความรู้ ในด้านพฤกษศาสตร์ และโบราณคดี และยังมีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด จำหน่าย ภายในสวนมีพรรณไม้ต่าง ๆ ที่นำมาปลูกไว้อย่างสวยงาม ได้แก่ สมุนไพรไทย ไม้ดัด ไม้ในวรรณคดี พันธุ์ไม้หายาก ฯลฯ

หาดแหลมเจริญ
ตั้งอยู่ใกล้ปากน้ำระยอง ห่างจากตัวเมืองระยองลงมาทางใต้ ๕ กิโลเมตร ติดกับหาดแสงจันทร์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชายทะเลที่อยู่ใกล้ตัวเมืองระยองมากที่สุด เป็นแหล่งผลิตน้ำปลาที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวประมง วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน การผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูปและโรงน้ำปลา ไม่เหมาะสำหรับเล่นน้ำ เนื่องจากบริเวณหาดแหลมเจริญเป็นปากน้ำระยองมีการสร้างเขื่อนกันลมจึงกลาย เป็นแหล่งตกปลาที่นิยมกัน นอกจากนี้ยังมีโรงแรมและร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดนี้

หาดแสงจันทร์
ตั้งอยู่ตำบลปากน้ำใหม่ ห่างจากตัวเมือง 7 กิโลเมตร บริเวณแยก PMY เป็นชายหาดติดต่อกับหาดแหลมเจริญ สามารถเล่นน้ำทะเลได้ มีร้านอาหารและที่พักหลายแห่ง ไว้บริการนักเที่ยว ทางเทศบาลได้จัดทำเขื่อนหินกันคลื่นซัดเวลาลมแรงตลอดแนวชายหาดมองดูแปลกตา ในยามค่ำคืนบนชายหาดจะหลากหลายร้านนำรถมาขายเครื่องดื่มและอาหารทะเล ตกแต่งชายหาดให้มีสีสันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของชาวเมืองระยอง

ตลาดบ้านเพ

เป็นที่ตั้งของท่าเรือไปเกาะเสม็ด และท่าเทียบเรือประมง อยู่ห่างจากตัวเมืองระยอง 19 กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิทแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 231 ไปประมาณ 5 กิโลเมตร หรือแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 238ประมาณ 3 กิโลเมตร มีร้านขายของพื้นเมืองต่าง ๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป เช่น น้ำปลา ปลาหมึก กุ้งแห้ง กะปิ ฯลฯ สำหรับของขายฝากสำหรับคนที่คุณรัก

หาดแม่รำพึง-บ้านก้นอ่าว

หาดแม่รำพึง-บ้านก้นอ่าว อยู่ห่างจากตัวเมืองระยอง ประมาณ 11 กิโลเมตร จากถนนสุขุมวิท มีทางแยกขวาที่กิโลเมตร 229 เข้าหาดแม่รำพึง ชายหาดมีความยาว 12 กิโลเมตร ถนนเลียบชายหาดยาว 10 กิโลเมตร มีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวมากมาย ชายหาดสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำ สุดชายหาดเป็นที่ตั้งของบ้านก้นอ่าวซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน

หาดแม่รำพึงเป็นชายหาดที่สวยงามที่สุดใน จ. ระยอง มีชายหาดยาว น้ำทะเลใส มีความลาดชันน้อย จึงเล่นน้ำทะเลได้ดี แต่ต้องระวังอันตรายในบริเวณตอนกลางของหาดซึ่งมีน้ำวน

ประวัติ เดิมหาดแม่รำพึงและบ้านก้นอ่าวมีเพียงหมู่บ้านชาว ประมงเล็ก ๆ สำหรับบ้านก้นอ่าวเป็นหมู่บ้านที่อยู่ไกลที่สุดในสมัยก่อน เนื่องจากเป็นอ่าวเว้าลึกเข้าไป จึงเรียกว่า “ก้นอ่าว” ส่วนหาดแม่รำพึงมีตำนานเล่าว่า มีหญิงสาวชาวบ้านคนหนึ่งมาโดดทะเลฆ่าตัวตายบริเวณนี้ เนื่องจากผิดหวังในความรัก จึงเป็นที่มาของคำว่า  “แม่รำพึง”
สิ่งน่าสนใจ
ชายหาด
เนื่องจากชายหาดบริเวณนี้ทอดตัวยาวประมาณ 12 กม. ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวไม่แออัดยัดเยียดมาก นัก และยังมีป่าสนซึ่งให้ความร่มรื่นได้เป็นอย่างดี ริมหาดมีห่วงยาง และเตียงผ้าใบให้เช่า พร้อมห้องอาบน้ำจืดสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการค้างแรม หาดทางด้านตะวันตกเหมาะจะเล่นน้ำมากที่สุด ส่วนทางตะวันออกมีหมู่บ้านชาวประมงปลูกเรียงรายไปถึงบริเวณบ้านก้นอ่าว
ร้านอาหารทะเล
ตลอดแนวชายหาดมีชาวประมงปลูกเพิงขายอาหารนับสิบ ๆ ร้าน อาหารทะเลสดใหม่และราคาถูกมาก เนื่องจากชาวประมงที่นี่ออกหาปลาโดยใช้อวนลอย จึงต้องกลับเข้าฝั่งทุกวัน ต่างจากเรืออวนลากที่ไปคราวละหลายวันกว่าจะกลับเข้าฝั่ง  ของทะเลมีทั้งขายปลีกและส่ง เช่น กุ้งแชบ๊วย ปลาเก๋า ปลากะพง หอยเชลล์ หอยหวาน หมึกไข่ หมึกหอม ปูทะเล ฯลฯ นักท่องเที่ยว สามารถเลือกซื้อเป็น  ๆ แล้วสั่งให้ทางร้านปิ้ง นึ่ง ย่าง ลวก ทอดราดพริก ผัดผงกะหรี่ ฯลฯ ได้ คิดค่าปรุงอาหารและน้ำจิ้ม 20 บาท/กก. เสร็จก็นั่งรับประทานกันที่ริมหาด ใครจะนำเครื่องดื่มมาเองก็ได้ ถ้า ไม่พอ ทางร้านก็มีจำหน่ายให้

เขาแหลมหญ้า

เขาแหลมหญ้า  อยู่เลยบ้านก้นอ่าวไปเล็กน้อย ตามถนนเลียบชายหาดเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ริมทะเล มีเนื้อที่ประมาณ 680 ไร่ บางส่วนเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล ปกคลุมด้วยป่าละเมาะ มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นหาดแม่รำพึง เกาะเสม็ด และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกด้วย ส่วนด้านหน้าเป็นชายหาดยาว เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ซึ่งทางอุทยานฯ มีบริการสถานที่กางเต็นท์ อัตราเช่าเต็นท์ของอุทยานฯ ราคา 100 บาท/คน/คืน   ในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่ ราคา 20 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3865 3034

หาดสวนสน

สวนสน หรือ สวนรุกขชาติเพ  อยู่ถัดจากบ้านเพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวเมืองระยองประมาณ 29 กิโลเมตร ตามถนนเลียบชายหาดไปแหลมแม่พิมพ์ (ทางหลวงหมายเลข 3145) เป็นพื้นที่ป่าสนริมชายหาดมีต้นสนหลากพันธุ์ขึ้นอยู่ 2 ข้างทาง นอกจากนั้นยังมีพันธุ์ไม้อื่น ๆ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะเคียน เป็นต้น ที่บริเวณสวนสนแห่งนี้เป็นหาดที่เหมาะแก่การเล่นน้ำ และโดยรอบบริเวณมีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว

 

 

ชุมชนตะพง

ฤดูกาลผลไม้ราวเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม บริเวณชุมชนบ้านตะพงจะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะบรรดาผู้ที่เดินทางผ่านไปมาจะแวะซื้อผลไม้สดในตลาดผลไม้ตะพงซึ่งตั้งอยู่ริม ถนนสุขุมวิท นอกจากนี้ชุมชนตะพงยังอยู่ในโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของ ททท.

สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) สร้างสวนสมุนไพรแห่งนี้ขึ้นภายใต้แนวคิด มิติการเรียนรู้ด้านสมุนไพรอย่างสนุกสนานเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์สมุนไพรมากกว่า 20,000 ต้น ( 260 ชนิดโดยจัดกลุ่มจำแนกตามสรรพคุณการรักษาตามคัมภีร์ยาไทยโบราณ; 20 กลุ่มอาการ ) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาความรู้ด้านพฤษศาสตร์และสมุนไพร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่- อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาซึ่งประกอบด้วยห้องประชุมสัมนา ห้องนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทย ทั้งที่ควรอนุรักษ์และที่ใกล้ตัวในวิถีชีวิตประจำวันโดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทาง โดยไม่เสียค่าใช้ใดๆทั้งสิ้น ในส่วนสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะมีการชมโดยรถ NGV ( รถที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ ) โดยมีมัคคุเทศก์บรรยายและนำชมตลอดเส้นทางเช่นเดียวกัน  โดยรถ NGV จะออกทุก 30 นาที ( ตามตารางรอบกำหนด ) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นนอกจากนี้ทางส่วนสมุนไพรฯ ยังได้จัดให้มีร้านค้าส่วนบริการ ได้แก่ ร้านอาหารเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และร้านนวดเพื่อสุขภาพ ในอัตรา 150 บาท ต่อชั่วโมง เพื่อบริการนักท่องเที่ยวทั่วไป

สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งอยู่บริเวณศูนย์บำรุงรักษาและบ้านพัก ปตท. บนถนนทางหลวงหมายเลข 3191 ต.มาบข่า กิ่งอ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง เปิดทำการวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ( หยุดวันจันทร์ ) การเดินทาง / เดินทางได้หลายเส้นทางดังนี้ การเดินทางไปตามถนนทางหลวงหมายเลข 36 ( บายพาส ) จากกรุงเทพฯ โดยมีจุดเริ่มต้นตรงจุดสิ้นสุดทางด่วนด่านเฉลิมนคร อ.บางนา ผ่าน อ.บางพลี จนมาถึง กม.ที่ 140 อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 36 ( บายพาส ) จากนั้นเดินทางไป จ.ระยอง มาถึงแยกมาบข่าเลี้ยวขวาประมาณ 800 เมตร สวนสมุนไพรจะอยู่ขวามือ สายมอเตอร์เวย์เริ่มต้นที่ถนนพัฒนาการ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ; จะสิ้นสุดที่ จ.ชลบุรี ระยะทาง 75 กม. จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 36 ( บายพาส ) อีก 100 เมตร จะถึงแยกมาบข่าเลี้ยวขวาประมาณ 800 เมตร สวนสมุนไพรจะอยู่ขวามือ 3.เดินทางมาจากจันทบุรีหรือในตัวเมืองระยอง ใช้ถนนสาย 36 ( บายพาส ) วิ่งตรงมาประมาณ 15 กม. ถึงแยกมาบข่าเลี้ยวซ้ายเข้ามาประมาณ 800 เมตร สวนสมุนไพรจะอยู่ขวามือ

การติดต่อจองเข้าใช้สถานที่เพื่อเยี่ยมชม กรณีเดินทางมาเป็นหมู่คณะ ควรทำเป็นหนังสือแจ้งล่วงหน้า ถึงผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ จ.ระยอง เลขที่ 555 ถนนสุขุมวิท ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง โทร.0 3868 5000 ต่อ 6720 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ โทร.0 3891 5213-5 โทรสาร. 0 3891 5216 กรณีเดินทางมาส่วนตัวหรือเป็นครอบครัวสามารถเข้ามาติดต่อและลงทะเบียนที่จุดประชาสัมพันธ์ในวันอังคาร-วันอาทิตย์ได้เลย การติดต่อขอใช้ห้องประชุมทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าถึงผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โรงแยกกาซธรรมชาติ เลขที่ 555 ถนนสุขุมวิท ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง  วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประชุมสัมนาทางวิชาการเช่นด้านพฤษศาสตร์ การแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย และอื่น ๆ ในวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ( หยุดวันจันทร์ ) อัตราค่าบริการใช้ห้องประชุมประมาณ 2,500 – 15,000 บาท

 

 

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *