ความอุดมสมบรูณ์ของทะเลระยองคือ”ความสำเร็จของทุกคน”

ปะการังในท้องทะเลระยอง วิกฤตมากแค่ไหนแล้ว?

  รู้กันหรือไม่ว่า แนวปะการังที่สวยงามและยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่าง “เกรทแบริเออร์รีฟ” ในประเทศออสเตรเลีย ถูกประกาศว่า “ตาย” แล้วอย่างเป็นทางการ ด้วยการถูกคุกคามจากภาวะโลกร้อน อันส่งผลถึงอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น จนเหล่าปะการังถูก “ฟอกขาว” ในที่สุด ปะการังในชายฝั่งทะเลของหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็ตกอยู่ในภาวะอันตรายไม่แพ้กัน เขตชายฝั่งประเทศที่สถานการณ์ปะการังอยู่ในสถานะวิกฤติ เสียหายมากกว่า 70% ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ กัมพูชา ไต้หวัน จีน และเวียดนาม ส่วนเขตชายฝั่งประเทศที่สถานการณ์ปะการังอยู่ในสถานะวิกฤติ เสียหายมาก 50%-70% ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ญีปุ่น และเขตชายฝั่งของประเทศที่สถานการณ์ปะการังอยู่ในสถานะอุดมสมบรูณ์ เสียหาย น้อยกว่า 30% ได้แก่ พม่า บรูไน

  จาก lnfographic จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ปะการังทะเลไทยไม่สู้ตีนัก จากพื้นที่ปะการังในประเทศไทยที่มีพื้นที่รวมประมาณ 238.33 ตร.กม. แต่ละพื้นที่มีเปอร์เซ็นต์ความสมบรูณ์ของปะการังไทยที่น่าตกใจทีเดียว โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ปะการังไม่เพียงแต่ต้องเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ยังต้องเผชิญการคุกคาม ทำลายและเหยียบย่ำปะการังจากการท่องเที่ยว และระบบนิเวศที่แปรปรวนจากการทิ้งขยะลงทะเล โดยจังหวัคที่มีปะการังสภาพปานกลางขึ้นไปเหลืออยู่ไม่ถึง 20% ได้แก่ ชุมพร ระนออง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี ตรัง ส่วนจังหวัคที่มีปะการังเหลืออยู่ในสภาพปานกลางขึ้นไป 21%-50% ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี จันทบุรี ตราด

 จังหวัคที่มีปะการังเหลืออยู่สภาพปานกลางขึ้นไปเกิน 50% นั้นมีเพียง จังหวัคระยอง นครศรีธรรมราช สตูล และปัตตานี จากรายละเอียดข้างต้นพบว่าจังหวัคระยองของเรามีปะการังเหลืออยู่ในสภาพที่ดีกว่าหลายๆจังหวัค นับเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเพราะจังหวัคระยองเป็นจังหวัคที่มีอุตสาหกรรมหนักและมีการเดินเรือใหญ่ๆ ในการขนส่งสินค้ารวมทั้งการขนส่งน้ำมัน ย่อมมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลมากกว่าจังหวัคภาคใต้ แต่ทำไมสภาพทางทะเลและปะการังของระยองเรายังอยู่สภาพที่สมบรูณ์กว่า ทางทีมงานจึงได้ไขข้อสงสัยด้วยการไปสัมภาษณ์ ท่าน ผอ. ภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยกรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 และท่านก็ได้ข้อมูลที่น่าสนใจมากๆ ครับ….

ท่านผอ. ภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล

   ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า…ธรรมชาติมีการปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาวะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเอง แต่สิ่งหนึ่งที่าำคัญที่สุด ที่ทำให้ทะเลของจังหวัคระยองมีความสมบรูณ์ คือ ภาคประชาชนชุมชนชายฝั่งมีผลมากที่สุด เพราะพวกเขาใส่ใจและตระหนักถึงการฟื้นฟู จังหวัคระยองนั้นมีความเข้มแข็งเรื่องประชารัฐ ในการร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ทะเลระยอง ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการภาคเอกชน และภาคประชาชน 3 ภาคส่วนนี้มีความเข้มแข็ง อย่างที่เราเห็นว่าเขามีความเข้มแข็งอย่างไร ที่ทำให้ทะเลระยองมีความอุดมสมบรูณ์ทั้งที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมหลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วอะไรที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบรูณ์การเพิ่มขึ้นของเครื่องมือ การเพิ่มขึ้นของคนประกอบอาชีพการประมงเป็นตัวนึงที่ชี้วัดว่าเรามีความสมบรูณ์มากหรือน้อยเพียงใด การพัฒนาอุตสาหกรรมมีผลกระทบกับการอนุรักษ์ทรัพยากรแต่จะร่วมกันอย่างไรนั้นคือสิ่งสำคัญ กลไกลสำคัญหลักๆ คือ “มนุษย์” การเพิ่มศักยภาพให้กับธรรมชาติ โดยมนุษย์นั้นสำคัญ รวดเร็วกว่า มั่นคงกว่า ถาวรกว่าและตอบโจทย์ได้ดีกว่าให้ธรรมชาติบำบัดตนเอง แต่ธรรมชาติบำบัดตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน แต่ก็ต้องสอดรับกันทั้งสองกระบวนการเพราะว่าการเจริญเติบโต การเพิ่มจำนวนประชากรความต้องการในการใช้ทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัวต์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรในด้านการท่องเที่ยวมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

   อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือกติกาชุมชน ชุมชนสร้างกติกาและบริหารจัดการกันเองในชุมชน ไม่มีกฎหมายบังคับ ไม่มีกฎหมายควบคุม กติกาชุมชนจะเป็นกำแพงประชาชนที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาทรัพยากร การที่ประชาชนลงมือทำเองโดยที่ภาครัฐเอกชนสนับสนุนอุปกรณ์เหมือนกับการสร้างธนาคารในทะเล บ้านของใครของมันแล้วก็เก็บดอกเก็บผลกันเองแบบนี้ มันจะยั่งยืนมากกว่าที่เราจะลงไปทำให้เขา เพราะเขาจะได้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ นี่คือแนวคิดที่เราทำมาตลอด

 ถามว่าทำไมสังคมดีขึ้นเพราะประชาชนมีส่วนร่วมในการทำมีส่วนร่วมในการคิด เมื่อก่อนชาวประมงออกไปจับปลาใช้เวลา5-8 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายประมาณ 500-1000 บาท แต่ตอนนี้มีอยู่บ้านใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ใช้น้ำมันไม่เกิน 500 บาท ทำให้มีเวลาเหลือทำกิจกรรมให้สังคมมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น จังหวัคระยองมีทั้หมด 33 กลุ่ม ซึ่งมีสมาคมพื้นบ้านประมงคุมอยู่ มีวิสาหกิจชุมชน เมื่อองค์กรมีความเข้มแข็งในเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูบริเวณทะเลมันย่อมมีความสมบรูณ์ ดังนั้นเราจะเห็นว่าระยองเป็นแหล่งอุตสาหกรรม แต่ทำไมความสมบรูณ์ยังมีมากว่า มันมีหลายปัจจัยร่วมช่วยกัน ธรรมชาติบำบัดเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า การมีส่วนร่วมระหว่าง 3 ภาคส่วนทำให้ระยองมีความได้เปรียบกว่าทุกพื้นที่

 

  สุดท้ายนี้อยากฝากชาวระยองว่าในการดูแลทรัพยากรในทะเล การฟื้นฟูทรัพยากรอย่าคิดว่า เป็นหน้าที่องค์กรเอกชนหรืออุตสาหกรรมต่างๆ จริงๆ มันเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกัน เพราะสังคม เศรษฐกิจ ต่างๆ มันขึ้นกับทะเล ขยะในทะเลก็มาจากขยะชุมชน ไม่ว่าจะเป็นถิ่นฐานที่ติดทะเล ถ้าทิ้งขยะไม่เป็นที่ขยะมันก็ไหลลงทะเลเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางทะเล ทรัพยากรป่า เป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องดูแลครับ

 เพื่ออนาคตปะการังระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ยังคงมุ่งมั่นดำเนินกิจกรรมปะการังและทรัพยากรทางทะเลร่วมกับชุมชนและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพื้นที่ปะการัง เพิ่มพูนความอุดมสมบรูณ์ของท้องทะเลระยองรวมทั้งจังหวัคใกล้เคียงอย่างยั่งยืนถาวรต่อไป

  

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *