ซูจีชูเปลี่ยนแปลง-เมียนมาเริ่มหาเสียงเลือกตั้ง

EyWwB5WU57MYnKOuXq3p9gtDdZmTBnodvKL9KtflcihTX3Xkxty9Su

(ภาพ: AP)

การรณรงค์หาเสียงของเมียนมาอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อ 8 ก.ย.ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่เสรีที่สุดในรอบ 25 ปี ใน 8 พ.ย.นี้ มีพรรคการเมืองลงชิงชัย 90 พรรค มากกว่าครั้งที่แล้วในปี 2553 ราว 2 เท่า เพื่อชิงเก้าอี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 30 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 51 ล้านคน ซึ่งพรรคการเมืองต่างชูสโลแกนและสัญลักษณ์หลากหลาย ทั้งหมวกไม้ไผ่ นกยูง เสือ สิงโต เพื่อดึงคะแนนเสียง

นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ฝ่ายค้านหลัก โพสต์วีดิโอใน “เฟซบุ๊ก” ของพรรคว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ควรเสรีและยุติธรรม คือ “จุดหัวเลี้ยวหัวต่อ” ของเมียนมา นี่คือครั้งแรก ในรอบหลายสิบปีที่ชาวเมียนมามีโอกาสแท้จริงที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง โอกาสที่ต้องไม่ปล่อยให้หลุดมือ ขอให้ผู้ลงคะแนนคิดถึงคนรุ่นต่อไป พรรคเอ็นแอลดีเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จด้วย “พลังขับเคลื่อนจากความต้องการของประชาชน” ขอให้ประชาคมโลกช่วยสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เพื่อรับประกันให้ชาวเมียนมารู้สึกว่าเจตจำนงของพวกเขาได้รับการเคารพ ด้วยวิถีทางแห่งการเปลี่ยน แปลงการเมืองและรัฐบาลที่แท้จริง

การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเอ็นแอลดีส่งผู้สมัครทั่วประเทศกว่า 1,000 คน มากกว่าพรรคสหภาพสามัคคีและการพัฒนา (ยูเอสดีพี) พรรครัฐบาลที่กองทัพหนุนหลังเล็กน้อย หลังการเลือกตั้ง สภาล่างและสภาสูงจะโหวตเสียงเลือกประธานาธิบดี ซึ่งนางซูจีไม่มีสิทธิ์ เพราะรัฐธรรมนูญห้ามผู้มีลูกหรือคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติเป็นประธานาธิบดี คาดว่าตัวแทนที่ถูกเสนอชื่อจะมี 3 คน จากพรรคยูเอสดีพี พรรคเอ็นแอลดี และตัวแทนจากกองทัพ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 กันที่นั่งไว้ให้กองทัพถึง 25%

นักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคเอ็นแอลดีจะได้ที่นั่ง ในสภามากที่สุด แต่อำนาจในรัฐสภาขึ้นอยู่กับว่าได้ที่นั่งเพียงพอจนสามารถเสนอชื่อตัวแทนพรรคขึ้นชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีได้เองหรือไม่ หลังเมื่อเดือน ที่แล้ว นายฉ่วย มาน ประธานสภาผู้แทนฯ ซึ่งใกล้ชิด กับซูจี ถูกประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และพันธมิตรลงมติ ปลดจากตำแหน่งประธานพรรคยูเอสดีพี บ่งชี้ว่าเกิดการแตกแยกแย่งชิงอำนาจในพรรครัฐบาล และพรรคเอ็นแอลดีอาจช่วยลงมติเลือกฉ่วย มาน เป็นประธา– นาธิบดีแทน เพราะซูจีไม่มีทายาทอำนาจชัดเจน

การเลือกตั้งครั้งที่แล้วในปี 2553 พรรคเอ็นแอลดีไม่เข้าร่วม ท่ามกลางข้อกล่าวหามีการโกงเลือกตั้ง ทำให้ยูเอสดีพีชนะ ได้ตั้งรัฐบาลกึ่งพลเรือน ส่วนการเลือกตั้งในปี 2533 เอ็นแอลดีชนะถล่มทลาย แต่ทหารไม่ยอมรับและยึดอำนาจไป อนึ่ง การเลือกตั้งครั้งนี้ซูจีลงสมัคร ส.ส.ในเขตกอว์มู ชานนครย่างกุ้ง และใน 10 ก.ย. เธอจะจัดชุมนุมหาเสียงที่รัฐคะยา เขตเลือกตั้งของนายโซ เต็ง รมว.ประจำทำเนียบประธานาธิบดี คนสนิทของเต็ง เส่ง.

Credit : http://www.thairath.co.th/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *