ปาเลสไตน์ปลื้ม! เชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาสนง.ใหญ่UNครั้งแรก

EyWwB5WU57MYnKOuXqzDSvPE7xF6X0Kee8Kti0jxSnHCb7P8g5mkGxธงชาติปาเลสไตน์โบกสะบัดอยู่บนยอดเสาที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนิวยอร์ก (ภาพ: AP)

ธงชาติของปาเลสไตน์ ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสาที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์กแล้ว โดยผู้นำปาเลสไตน์ระบุว่าวันนี้เป็นวันที่น่าภูมิใจที่สุด…

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ธงชาติของปาเลสไตน์ถูกเชิญขึ้นสู่ยอดเสาที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรกเมื่อวันพุธ (30 ก.ย.) ถือเป็นวินาทีประวัติศาสตร์สำหรับปาเลสไตน์ที่เรียกร้องให้นานาชาติยอมรับพวกเขาเป็นรัฐอิสระรัฐหนึ่งมาตลอด

สหประชาชาติจัดพิธีเชิญธงชาติปาเลสไตน์ขึ้นสู่ยอดเสาที่ โรส การ์เดน ณ เวลา 13:16น. ตามเวลาสหรัฐฯ โดยนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวในพิธีว่า นี่เป็นวันแห่งศักดิ์ศรีสำหรับชาวปาเลสไตน์ทั่วโลก และยังเป็นวันแห่งความหวังด้วย ตอนนี้เป็นเวลาแห่งการฟื้นฟูความเชื่อมั่นระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ เพื่อการเจรจาสันติภาพ และยอมรับในหลัก 2 รัฐ ในท้ายที่สุด

ขณะที่ ประธานาธิบดี มาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ผู้เป็นสักขีพยานในการเชิญธงขึ้นเสาด้วย ระบุว่า การเชิญธงปาเลสไตน์สู่ยอดเสาของยูเอ็นครั้งนี้ ทำให้วันนี้กลายเป็นวันที่น่าภูมิใจและตื้นตันที่สุด

NjpUs24nCQKx5e1D68HXx1mTIYTLxAKsZTw4uiUHkEx

ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกิดขึ้นหลังจาก เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ 193 ประเทศ ผ่านญัตติอนุญาตให้เชิญธงของปาเลสไตน์และวาติกันขึ้นสู่ยอดเสาที่สำนักงานใหญ่ของยูเอ็น โดยอิสราเอล, สหรัฐฯ และอีก 6 ประเทศโหวตคัดค้าน ขณะที่อีก 45 ประเทศงดออกเสียง

ก่อนหน้านี้ในวันr6T ประธานาธิบดีอับบาส กล่าวหาอิสราเอลในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) ว่า ไม่หยุดการสร้างที่อยู่อาศัยและปล่อยนักโทษชาวปาเลสไตน์ระลอกที่ 4 ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาสันติภาพออสโล ทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกจนต้องตัดสินใจว่า พวกเขาจะไม่เป็นฝ่ายรักษาสัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว

ขณะที่นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ก็ตอบโต้ว่า คำพูดของนายอับบาสไม่เป็นความจริงและจะให้เกิดการปลุกปั่นและความวุ่นวายในตะวันออกกลาง

อนึ่ง เมื่อปี 2012 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ โหวตลงมติยกสถานะของปาเลสไตน์ เป็นรัฐสังเกตการณ์ที่ไม่ใช่สมาชิกสหประชาชาติ โดยเป็นสถานะเดียวกันนครรัฐวาติกัน หลังจากในปี 2011 ปาเลสไตน์พยายามยื่นเรื่องขอเป็นสมาชิกสหประชาชาติเต็มตัว แต่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี)

Credit : http://www.thairath.co.th/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *