อียูมีมติกระจายผู้อพยพ 40,000 คนทั่วยุโรป ยกเว้นอังกฤษและเดนมาร์ก

EyWwB5WU57MYnKOuXq8EJUMRglcGvS0KBxdvohWGvNowAmygPoKA3P(ภาพ: AP)

เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กันยายน เวลา 17.00 น. (22.00 น. เวลาประเทศไทย) นายฌอง อัสเซนบอร์น รัฐมนตรีด้านการโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยของประเทศลักเซมเบิร์ก ทำหน้าที่ประธานคณะมนตรีสหภาพยุโรป แถลงผลการประชุมรัฐมนตรีมหาดไทยและยุติธรรมของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ว่า ที่ประชุมมีมติจัดทำมาตรการเคลื่อนย้ายผู้อพยพเป็นการชั่วคราวและเป็นกรณีพิเศษจากประเทศหน้าด่านคือ อิตาลีและกรีซ ไปยังประเทศสมาชิกอื่นของอียู บังคับใช้สำหรับผู้อพยพที่มีความจำเป็นที่ชัดเจนว่าจะต้องได้รับความคุ้มครองจากนานาชาติ โดยได้เดินทางมาถึงประเทศสมาชิกดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2558 ถึง 16 กันยายน 2560

นายฌอง อัสเซนบอร์น กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีที่คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปบรรลุข้อมติดังกล่าว นับว่าเป็นสัญญาณทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง การเคลื่อนย้ายผู้อพยพที่จำเป็นจะต้องได้รับความคุ้มครองจากนานาชาติสามารถเริ่มได้อย่างเร็วที่สุด ขณะเดียวกัน ประเทศอิตาลีและกรีซซึ่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมก็จะมีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับการปฏิบัติงาน คณะมนตรีกำลังแสวงหามาตรการเร่งด่วนอื่นขึ้นมารองรับการเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยในลำดับต่อไปอีก แต่ก็จำเป็นจะต้องรอให้แนวทางการปฏิบัติอันดับแรกนี้เริ่มดำเนินการและให้ผลลัพธ์เสียก่อน”

NjpUs24nCQKx5e1D68gyQQPA3vHJp8vWy032fo3bcboฌอง อัสเซนบอร์น รัฐมนตรีด้านการโยกย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยของประเทศลักเซมเบิร์ก (ภาพ: AFP)

ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะมนตรีสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ได้มีมติเห็นชอบในการเคลื่อนย้ายผู้อพยพจำนวน 32,256 คน และจะมีการปรับตัวเลขอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2558 ให้ครบจำนวน 40,000 คน ตามข้อผูกพันของคณะมนตรีฯ ที่ได้มีมติเมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน ที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกที่รับผู้อพยพจะได้รับเงินสนับสนุน 6,000 ยูโร (250,000 บาท) ต่อคน โดยสภายุโรปได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 กันยายน ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรและเดนมาร์กไม่ได้ร่วมลงมติดังกล่าวแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน ช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 14 กันยายน สหภาพยุโรปได้ประกาศที่จะเร่งรัดใช้กำลังทหารเรือตามแผนปฏิบัติการทางเรือต่อต้านขบวนการลักลอบขนย้ายผู้อพยพผ่านทางทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน โดยกำหนดเริ่มการปฏิบัติการต้นเดือนตุลาคม อนุญาตให้กองทัพเรือของอียูสามารถเรียกให้หยุดเพื่อทำการตรวจค้น ยึด ทำลายหรือรื้อถอน เรือที่ต้องสงสัยว่าลักลอบขนผู้อพยพ และอาจจะทำการจับกุมได้อีกด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่อยู่ในเขตน่านน้ำของประเทศลิเบีย

Credit : http://www.thairath.co.th/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *