ฮังการีซ้อมรับมือผู้อพยพก่อนใช้ ก.ม.ฉบับเข้ม

EyWwB5WU57MYnKOuXq9IZwmADpRdOSsg3PvnKZqnxR7CvJfhMtdk0w

(ภาพ: AP)

นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เผยที่อาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน เมื่อ 9 ก.ย. หลังเสร็จสิ้นการประชุมกับสมาชิกสภาคองเกรสว่า ทางสหรัฐฯ จะเพิ่มสัดส่วนจำนวนผู้ลี้ภัยทั่วโลกจาก 70,000 คน เป็น 75,000 คน ในปี 2559 รวมผู้อพยพจากซีเรียซึ่งไม่ได้ระบุจำนวน แต่โดย 3 กลุ่มหลักใหญ่ที่ต้องการไปตั้งหลัก ชีวิตใหม่ในสหรัฐฯ ได้แก่ ชาวเมียนมา ชาวอิรัก และชาวโซมาเลีย ขณะที่นางฮิลลารี ร็อดแฮม คลินตัน ผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็เรียกร้องให้รวมตัวฉุกเฉินทั่วโลกในการประชุมของสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ด้วยหลาย ประเทศอาจจะมอบเงินช่วยเหลือและรับผู้อพยพไปบางส่วน

วันเดียวกัน กองทัพฮังการีเริ่มซ้อมรับมือผู้อพยพที่เรียกว่า “ปฏิบัติการเด็ดขาด” ที่อาจหลั่งไหลเข้ามาทางตอนใต้ของประเทศอีกในอนาคต ตามแผนของรัฐบาลที่จะส่งกำลังทหารเข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจตามตะเข็บชายแดน ซึ่งยังมีกลุ่มผู้อพยพ จากเซอร์เบียเดินทางเข้ามาทุกวัน แล้วตลอด 24 ชม.ที่ผ่านมา มีผู้อพยพเข้าประเทศมากเป็นสถิติ 3,321 คน และคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีกลุ่มผู้อพยพ อีกอย่างน้อย 42,000 คน ทะลักเข้าประเทศก่อนที่สมาชิก ส.ส.ในสภาโหวตมติร่างกฎหมายควบคุมชายแดนซึ่งเข้มงวดขึ้นภายในเดือน ก.ย.นี้

ด้านสมาชิกสภาเนเธอร์แลนด์เตรียมลงมติรับรองข้อเสนอของนายฌอง-โคลด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมการสหภาพยุโรป ว่าเห็นควรยอมรับกลุ่มผู้ลี้ภัยเพิ่มอีกหลายพันคนหรือไม่ ตามข้อเรียกร้องของนายยุงเกอร์ที่ต้องการกำหนดโควตาตามข้อบังคับให้ประเทศสมาชิกอียูรับกลุ่มผู้อพยพ ซึ่งภายใต้ข้อเสนอดังกล่าว ผู้อพยพ 120,000 คน ในกรีซ อิตาลี และฮังการี จะถูกโยกย้ายถ่ายโอนไปยังประเทศอื่นตามสัดส่วนของจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ ซึ่งรัฐบาลเนเธอร์แลนด์พร้อมปฏิบัติตามหากสมาชิกประเทศอื่นยอมรับด้วย โดยยังมีผู้อพยพอีก 40,000 คน ที่เข้ามาก่อนหน้านี้ และยุโรปต้องรับผิดชอบดูแล

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีหญิง คริสตินา เคิร์ชเนอร์ แห่งอาร์เจนตินา ออกมาวิจารณ์ถึงการรับมือกลุ่มผู้อพยพของยุโรป ซึ่งกลายเป็นปัญหาวิกฤติครั้งยิ่งใหญ่สุดของทวีปยุโรป นับตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเผยว่า ไม่ต้องการให้อาร์เจนตินาต้องมีสภาพเหมือนหลายๆ ประเทศที่ปล่อยให้ลูกหลานต้องไปเสียชีวิตอยู่ริมหาด ซึ่งหมายถึงเด็กชายชาวซีเรียวัย 3 ขวบ ที่กลายเป็นภาพเชิง สัญลักษณ์ของคลื่นมนุษย์อพยพที่ต้องลี้ภัยสงครามและความยากจน นอกจากนี้ ยังพร้อมต้อนรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียแต่ไม่ได้ระบุว่าจนถึงขณะนี้รับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียแล้วจำนวนเท่าไหร่.

Credit : http://www.thairath.co.th/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *