โจรจีนบุกกรุงปารีสใช้ยา “ลมหายใจปีศาจ” ทำเหยื่อไม่มีสติก่อนปลดทรัพย์

EyWwB5WU57MYnKOuXocwoMB1ekyzcaIFpBipXvZ0P9R1wTv29mSxTK

ดอก Datura หรือดอกลำโพงที่มีสาร scopolamine อยู่จำนวนมาก (ภาพ: © iStock)

ตำรวจฝรั่งเศสรวบแก๊งตกยาชาวจีนหลายคน คาสนามบินชานกรุงปารีส พร้อมของกลางจำนวนหนึ่ง โดยแก๊งนี้จะใช้ยาผงชื่อ ลมหายใจปีศาจ เป็นเครื่องมือทำให้เหยื่อไม่มีสติก่อนปลดทรัพย์…

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจฝรั่งเศสได้จับกุมตัวชาวจีน 5 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 2 คน ที่สนามบินรัวซี่ ชานกรุงปารีส พร้อมของกลางเป็นเงินสดจำนวน 75,000 ยูโร กับ 16,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมเครื่องประดับจำนวนหนี่ง มีข้อสัณนิษฐานว่า เป็นแก๊งตกยาที่ได้ใช้ยาผงเป็นเครื่องมือทำให้หญิงชราสองคนหมดความรู้สึกตัว พร้อมกับขโมยทรัพย์สินไปจนหมด เหตุเกิดที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แก๊งดังกล่าวได้ใช้ผงยาชนิดพิเศษที่เรียกว่า “ลมหายใจปีศาจ” (souffle du diable) หรือ “ลมหายใจมังกร” (souffle du dragon) ส่งผลทำให้ผู้ที่สูดดมหมดสติภายในไม่กี่วินาที

คนจีนสองคนได้ถูกจับกุมตัวมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนกันยายนของปีนี้ เนื่องจากมีผงยาดังกล่าวไว้ในครอบครอง และได้ใช้ผงยานี้สำหรับปลดทรัพย์เจ้าทุกข์จำนวนกว่าสิบคน เจ้าทุกข์หลายรายได้ให้การว่า พวกเขาตกอยู่ในสภาวะที่มึนงงและไม่รู้สึกตัว อันเป็นผลจากการสูดดมผงยาดังกล่าว ที่ส่งผลให้ผู้สูดดมตกอยู่ในภาวะความทรงจำลบเลือน ผงยาออกฤทธิ์คล้ายกับยาสลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวไม่สามารถขัดขืนหรือโต้แย้งได้เลย โดยใช้ในปริมาณน้อยมากจำนวนไม่ถึงมิลิกรัมก็ให้ผลแล้ว

นิตยสารซิอองซ์เอท์อเวอนีร์ (Sciences et Avenir) ของฝรั่งเศสได้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ฌอง-หลุยส์ มงทัสทรุค อาจารย์ด้านเภสัชวิทยาการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยตูลูสและสมาชิกแพทยสภาฝรั่งเศส ระบุว่า “ลมหายใจปีศาจ” (souffle du diable) เป็นส่วนผสมของสารสองชนิดที่รู้จักกันดีทางการแพทย์คือ Scopolamine และ atropine ซึ่งเป็นสารกล่อมประสาท โดย Scopolamine เป็นสารที่มีอยู่ในดอกไม้บางชนิด มีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาสำหรับผู้ที่มีอาการเมารถ เมาเรือช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะและการอาเจียน ส่วน atropine ก็มีอยู่ในดอกไม้ชนิดหนึ่งเช่นกัน ส่งผลต่อการกระตุ้นการเต้นของหัวใจและการขยายตัวของม่านดวงตา มีใช้สำหรับคนไข้ที่หัวใจเต้นช้าหรือเป็นส่วนผสมของยาหยอดตา

ทั้งสาร Scopolamine และ atropine ส่งผลกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (système parasympathique) โดยจะพุ่งเป้าหมายไปยังต่อมรับ récepteurs muscariniques ทำหน้าที่ตอบรับโดยอัตโนมัติปราศจากการรับรู้ ต่างจากต่อมรับรู้ acétylcholine ของระบบประสาทที่ทำหน้าที่บันทึกความจำและการเรียนรู้ในระบบสมองส่วนกลาง สาร Scopolamine และ atropine จะทำหน้าที่ขัดขวางการทำงานของต่อมรับรู้ acétylcholine ทำให้ไม่สามารถส่งต่อการทำงานของต่อมรับรู้ไปยังสมองส่วนกลาง การได้สูดดมสาร Scopolamineเพียงเล็กน้อยก็จะทำงานเชื่อมโยงไปยังระบบประสาทพาซิมพาเทติกและใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีก็ออกฤทธ์

ผู้ที่ได้รับสารทั้งสองชนิดในปริมาณมากจะส่งผลดังนี้คือ สาร Scopolamine ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนหรือคลุ้มคลั่ง สูญเสียการควบคุมตัว และความจำเสื่อม ผลทางประสาทของสารดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีมานานแล้ว บรรดาวัยรุ่นจะใช้สารดังกล่าวในงานเลี้ยงเพื่อให้เกิดอาการจิตหลอน ส่วนสาร atropineก็จะเป็นตัวกระตุ้นผลการออกฤทธิ์ของสาร Scopolamineการเสพสารทั้งสองเข้าสู่ร่างกายไม่ทำให้ร่างกายสูญเสียการทรงตัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อเสพเข้าไปจะทำให้มีอาการเหมือนกับซอมบี้ หากมีการเสพสาร atropine ในปริมาณมากจะส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจติดขัด และหากเสพสาร Scopolamine มากเกินขนาดอาจจะทำให้หมดสติ หรืออาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

Credit : http://www.thairath.co.th/

About admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *